วันพฤหัสบดีที่ 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552

กระต่ายไทย^^

วันนี้มีประวัติกระต่ายพันธุ์มาฝากเพื่อน ๆ ค่ะ โดยเน้นกระต่ายที่มีการพัฒนาสายพันธุ์ขึ้นมาเอง โดยคนไทย เริ่มแรกเลย มีการนำเข้ากระต่ายขนยาว จากต่างประเทศ อย่าง English Angora ได้ถูกนำเข้ามาโดยฟาร์มเก่าๆ ในไทย แล้วนำมาผสมกับกระต่ายไทยค่ะ เพื่อลดต้นทุน และ พัฒนาให้เกิดกระต่ายพันธุ์ขนยาวขึ้น และพัฒนาต่อมาเรื่อยๆ ออกมาเป็นกระต่ายที่เราเห็นๆ กันอยู่นี้ ในระยะแรกสุด ได้มีกระต่ายพันธุ์ เจอรี่ วู๊ดดี้ ออกมาก่อน แต่ยังไม่ค่อยจะสวย เพราะที่ตัวขนยาว แต่ที่หน้าขนจะไม่ค่อยยาว จะมีกระต่ายหน้าตาแปลกๆหลุดฟอร์มออกมาขายเยอะ เพื่อนๆ หลายๆคนคงจะเคยเห็น ที่เป็นกระต่ายที่บางคนเรียกว่า เสื้อกั๊ก คือ กระต่ายที่ขนตรงหลังสั้น มีขนรอบๆยาวเป็นชายกระโปรง คือยาวไม่เสมอกันทั้งตัว คล้ายกระดองเต่า หรือที่มาตั้งชื่อกันเอง เพื่อให้ขายง่ายว่า กระต่ายเปอร์เซีย เกิดจากการผสมที่มีเชื้อกระต่ายไทยมากเกินไป และก็ด้วยเหตุที่คนไทยชอบกระต่ายขนยาวๆ แต่ตัวเล็กๆ กระต่ายที่พัฒนาขึ้นรุ่นหลังๆ จะเน้นที่จุดนี้ จึงพัฒนาตามมาด้วยกระต่ายที่เล็กลง และขนยาวเสมอกันมากขึ้นคือ Teddy Bear ที่มีขนาดเล็กลง และ Woody Toy ซึ่งเล็กที่สุดในบรรดากระต่ายที่พัฒนาสายพันธุ์ขึ้นในไทย ตามลำดับ

1. กระต่ายไทยทั่วไปกระต่ายไทย จะเป็นกระต่ายที่มีมานานแล้ว มีราคาถูก บางคนเรียกว่า กระต่ายพื้นเมือง ลักษณะขนจะสั้น และหน้าจะแหลม มีขนาดใหญ่ เมื่อเทียบกับกระต่ายที่จะกล่าง



2. เจอรี่ วู๊ดดี้ (Jerry Woody)ชื่อของเจอรี่ วู๊ดดี้ นั้นค่อนข้างสร้างความสับสนให้กับผู้เลี้ยง เป็นอันมาก เนื่องจากไปฟังแล้วคล้ายกับ Jerry Wooly (เจอรี่ วูลลี่) ของต่างประเทศ อันที่จริงแล้ว เป็นคนละพันธุ์กันค่ะ เจอรี่ วู๊ดดี้ จะลักษณะคล้ายกับ Teddy ค่ะ แต่ว่า ขนที่หน้าจะสั้นกว่าเล็กน้อย และขนาดเมื่อโตเต็มที่ ตัวจะใหญ่กว่า ปัจจุบันไม่ค่อยมีขายแล้วค่ะ


3. Teddy Bear Teddy หรือ Teddy Bear เป็นกระต่ายที่เป็นลูกผสมเช่นกัน และได้พัฒนาสายพันธุ์กันมาต่อจาก เจอรี่ วู๊ดดี้ จนค่อนข้างนิ่งในเมืองไทย กระต่ายพันธุ์นี้ จะนิยมเลี้ยงกันมาก เพราะว่า รูปร่างน่ารัก ตัวจะกลมฟู ขนจะฟูยาวประมาณ 4-5 นิ้ว และก็มีราคาไม่แพง เพาะพันธุ์ขึ้นจากฟาร์มในเมืองไทย ต่างประเทศไม่มีค่ะ






4. วู๊ดดี้ ทอย (Woody Toy)อ่านชื่อแล้วเพื่อนๆ อาจจะเกิดอาการมึน เล็กน้อย อันที่จริงแล้ว Woody Toy ชื่อฟังดูมีคำว่า วู๊ดดี้ เหมือนกัน ก็น่าจะคล้ายกับ เจอรี่ วู๊ดดี้ แต่ไม่ใช่ค่ะ กระต่ายพันธุ์วูดดี้ ทอย นี้จะคล้ายกับ Teddy Bear มากกว่า เพราะว่า พัฒนาสายพันธุ์ต่อจาก Teddy Bear โดยทำให้มีขนาดเล็กลงไปอีก มองแล้วคล้ายกับเอา Teddy Bear มาหดให้เล็กลง เพราะว่า หน้าตาคล้ายกับ Teddy Bear เลยค่ะ (แต่ไม่ได้มียีนส์แคระนะคะ เพราะหากมียีนส์แคระนั้น Woody Toy จะผสมกับ Woody Toy ไม่ได้ เพราะว่า จะเกิดลูกที่เป็น peanut ซึ่งเป็นปัญหาจากยีนส์ แคระ ที่เป็นยีนส์ด้อยมาเจอกัน แต่ปรากฏว่า Woody Toy ไม่ได้ให้ลูก peanut จึงไม่ใช่ กระต่ายแคระค่ะ เพียงแค่พัฒนาให้มีขนาดเล็กลงเท่านั้น)ลักษณะคือ หน้าตาจะเหมือน Teddy Bear เลย แต่หูจะสั้นกว่ามองเห็นคล้ายรูปสามเหลี่ยมด้านเท่า และเมื่อโตเต็มที่แล้วตัวจะเล็กกว่า Teddy Bear ค่ะ หากเอา Woody Toy และ Teddy Bear ที่โตเต็มที่มาเทียบกัน Woody Toy จะตัวเล็กกว่า เกือบครึ่งเลย








Netherland dwarf^^



Netherland dwarf มักจะเรียกว่า เป็นอัญมณีแห่งกระต่ายเลยเชียวหละค่ะ ลักษณะของเค้าคือ เค้าจะตัวเล็กที่สุดในบรรดากระต่ายทั้งหมดที่ได้รับรองสายพันธุ์จาก ARBA และ ตัวจะกลมป้อม หน้าตาดูไปดูมาเมือนแมวอ้วนๆ (ดูแล้วคล้ายชิลชีล่า ที่ไม่มีพวงหาง) เพราะว่าหูจะสั้นไม่เหมือนกระต่าย และ ส่วนหัวจะกลมสั้น ไม่ว่าจะมองจากมุมไหนก็จะกลมไปหมดทั้งหัวมีแก้มอีกต่างหาก แถมส่วนคอจะสั้นเหมือนเอาหัวไปแปะไว้กับตัวไม่มีคอยังไงยังงั้น ตัวกลมมนเรียบ ตัวเล็กกว่าพันธุ์อื่นๆ


สีของ Netherland Dwarf มีหลายสีค่ะ สีที่ได้รับการยอมรับจาก ARBA จะมีทั้งหมด 35 สีค่ะ เพื่อนๆ สามารถจะคลิ๊กเข้าไปดูสี ได้ที่ URL นี



http://www.islandgems.net/compatible-colors.htmlในเว็บที่บอก จะมีสีของ Netherland Dwarf มีรหัสยีนส์ และ สีขนสีตาแสดงให้ดูอย่างชัดเจน อย่างเช่น กระต่ายตัวแรกสุด เค้าก็จะบอกว่า สี Ruby Eyed White นั้น ลักษณะที่ดีคือ สีขาวไปหมดทั้งตัว ตาสีแดง แต่ถ้าหากว่า มีส่วนที่ไม่ใช่สีขาวปนมาหรือ ขนเปื้อนเป็นสีเหลืองๆ เนี่ยก็จะทำให้เป็นข้อด้อยไป เป็นต้น ลองคลิ๊กเข้าไปดูนะคะ ดีมากๆเลย

น้ำหนักเมื่อโตเต็มที่ 0.9-1.1 กิโลกรัม


เชื่อกันว่า กระต่ายพันธุ์นี้ ผสมขึ้นมาได้จากความบังเอิญ เนื่องจากมีคนนำ Polish มาผสมกับกระต่ายป่าตัวเล็กใน Netherland ในช่วงคศ 1940 และต่อมาในปี 1969 ทาง ARBA ได้ยอมรับ Netherland dwarf จัดเข้าเป็นสายพันธุ์หนึ่งในสายพันธุ์


ก่อนอื่นเรามาทำความรู้จักกันกับ gene หรือรหัสพันธุกรรมกันก่อนนะคะ การที่ Netherland dwarf มีขนาดแคระ ตัวเล็กนั้น เป็นเพราะว่าเค้า ยีนส์พิเศษที่เรียกว่า ยีนส์แคระ หรือ "Dwarf gene” (ย่อว่า Dw) อยู่ ซึ่งยีนส์นี้คือยีนส์ด้อย ทำให้มีลักษณะเล็กแคระผิดกระต่ายทั่วไป ซึ่ง ส่วนยีนส์ของกระต่ายขนาดปกติแทนด้วย dw แทนยีนส์เด่นที่ไม่มีปัญหา
ขออธิบายแยกเป็นข้อๆ คือ1. กระต่ายขนาดไม่แคระ จะไม่มียีนส์แคระอยู่ เวลาเขียนเป็นรหัสยีนส์จะเขียนเป็น dwdw2. กระต่ายแคระ จะมียีนส์ธรรมดา จับคู่กับยีนส์แคระ เวลาเขียนเป็นรหัสยีนส์จะเป็น Dwdw อย่าง Netherland Dwarf ที่เราเห็นลักษณะเล็กตามมาตรฐานเนี่ย เพราะว่าเค้ามียีนส์แคระ คือ Dw ปนอยู่นั่นเอง3. กระต่ายที่แคระแกร็นผิดปกติ เรียกว่า peanut เวลาเขียนจะเป็นรหัสยีนส์ DwDw เพราะว่า ยีนส์แคระเป็น ยีนส์ด้อย หากมาเข้าคู่กันเมื่อไร จะเกิดความผิดปกติ



Lion head^^

กระต่ายพันธุ์ Lion Head หรือที่คนไทยเรานิยมเรียกสั้นๆ ว่า Lion ว่ากันว่าเกิดจากการผสมข้ามพันธุ์ค่ะ ซึ่งกระต่ายพันธุ์นี้ พบอยู่ทั่วไปในบ้านเรา แต่ว่า ยังไม่ได้รับการรับรองเป็นพันธุ์มาตรฐาน ใน European
ประวัติของ Lion Head คือ มีการนำเข้ามายังประเทศอังกฤษเมื่อปลายปี 1995 และได้รับการบอกเล่า ว่า เกิดจากการผสมข้ามพันธุ์ ระหว่าง Swiss Fox และ Netherland Dwarf บ้างก็บอกว่า มาจากการผสมกับ แองโกล่ามาหลังจากไม่ได้รับการยอมรับ ต่อมาได้มีการพยายามจัดตั้งชมรม สำหรับ Lion Head ขั้นในประเทศอังกฤษ ในปี คศ 1996 โดยชั้นชื่อว่า"The National Lionhead Rabbit Club" มีชื่อย่อว่า NALRC และในภายหลังก็มีสมาคมเพิ่มขึ้นในประเทศอเมริกาอีกด้วย ชื่อว่า "North American Lionhead Rabbit Club" โดยก่อตั้งขึ้นในปี 2001 ค่ะ
ลักษณะของ lion Head ก็คล้ายๆกับชื่อค่ะ คือหัวสิงโต คือ เป็นกระต่ายที่ไม่ใหญ่มาก มีขนยาวแค่บริเวณหัวเท่านั้น (เหมือนสิงโต)มีแผงคอยาวออกมาแบบสิงโต ตามตัวห้ามมีขนยาวปุยเป็นกระโปรง ขนที่ตัวจะค่อนข้างเรียบ
ลักษณะตามมาตรฐานของสมาคม NALRC (North American Lionhead Rabbit Club) คือ
1. ลำตัว จะต้องสั้น กลมป้อม ไหล่และอกควรจะกว้าง ตะโพกต้องกว้าง กลม 2. หัว ต้องใหญ่ ระยะห่างระหว่างตา ต้องกว้าง หัวและตัวควรจะชิดกันไม่เห็นคอ ตาต้องกลมโต 3. หู ต้องสั้น อยู่บนส่วนบนของหัว ต้องตั้ง และ มีขนปกคลุมหู 4. แผงคอ เป็นขน Wool คือขนปุย และแผงคอต้องเด่น ทั้งด้านบน และด้านข้างหู ต้องมีความยาวของแผงคออย่างน้อย 2 นิ้ว แผงคอต้องเป็นแผงกลมรอบๆหัว ส่วนขนตรงหน้าและตัวจะไม่ใช่ขน Wool เหมือนแผงคอค่ะ
ขนาดเมื่อโตเต็มที่จะประมาณ 2 กิโลกรัมค่ะแต่ว่ากระต่ายพันธุ์ ไลอ้อน ที่ผสมได้ในเมืองไทยนี้ บางตัวเมื่อโตขึ้นมาแล้ว แผงคอไม่ออกก็มีค่ะ หรือบางตัวก็แผงคอไม่ได้รูป สั้นบ้างยาวบ้าง ก็มีค่ะ
ย้ำอีกครั้งว่าไลออน นั้นไม่ได้ฟูไปหมดทั้งตัวนะคะ จะฟูมากๆ ก็ตรงแผงคอ แต่หากเพื่อนๆ ต้องการกระต่ายที่ฟูไปหมดทั้งตัว ก็ควรจะเป็นพันธุ์อื่น เช่น เท็ดดี้แบร์ค่ะ




แองโกล่า^^


กระต่ายแองโกล่านั้น มีทั้งหมด 4 ชนิดค่ะ ได้แก่ 1.English Angora2. French Angora3. Giant Angora4. Satin Angora:ซึ่งพันธุ์ดั้งเดิมก็คือ English และ French Angora ค่ะ ต่อมาจึงประกาศ Giant และ Satin เพิ่มเข้ามาในปลายคศ 1980 ค่ะลักษณะของแองโกล่า ที่แตกต่างจากพันธุ์อื่นคือ ขนฟูค่ะ และปุยพอง เราเรียกขนแบบนี้ว่า Wool ค่ะ

1. English Angora
พันธุ์นี้จะหน้าตาน่ารักค่ะ ขนแบบWool นี่จะปุยฟู หนา ปกคลุมไปจนถึงหูเลยหละ ตรงหูจะเห็นเป็นพู่ๆ และขนจะคลุมไปขนถึงหน้า และเท้า ซึ่งขนส่วนใหญ่จนนุ่มละเอียดเหมือนไหม และต้องอาศัยการดูแลมากเป็นพิเศษ นอกจากนี้ English Angora นี้จะมีขนาดเล็กกว่าเพื่อนค่ะ โตเต็มที่จะหนักแค่ 2.3-3.2 กิโลกรัม



2. French Angora

พันธุ์นี้ จะดูไม่น่ารักเท่ากับ English Angora ค่ะ เพราะว่า หน้าและหูจะไม่ปุย หน้าตาจะเหมือนกระต่ายทั่วไป แต่ว่าจะปุยที่ตัวค่ะ ส่วนขนWool จะมีขนที่ละเอียดน้อยกว่า English Angora ความยาวตัวจะปานกลาง และเป็นทรงวงรีค่ะ เมื่อโตเต็มที่จะหนัก 3.4-4.8 กิโลกรัม



3. Ginat Angoraจะเป็นเป็นสีขาวค่ะ โตเต็มที่จะหนัก 3.9 กิโลกรัม

4. The Satin Angora

ขนจะเงา ลักษณะส่วนใหญ่จะไปทาง French Angora ขนจะนุ่มเงาสวย เมื่อโตเต็มที่จะหนัก 3-4.3 กิโลกรัมนี่คือตัวอย่างขนค่ะ
<<<<<<ส่วนภาพขวามือนี้ คือภาพเปรียบเทียบระหว่าง French Angora และ Angora Satin จะเห็นว่า ตัวขวาจะเงากว่าค่ะ
ป.ล.กระต่ายพันธุ์แองโกล่าเหล่านี้ ยังไม่พบว่ามีขายทั่วไปในเมืองไทยค่ะ กระต่ายที่ขายกันในเมืองไทย บางส่วนจะเป็นกระต่ายที่เกิดมาจากการเอา กระต่ายแองโกล่า มาผสมกับกระต่ายไทยเพื่อลดต้นทุนค่ะ

ฮอลแลนด์ลอป และ มินิลอป^^




Halland Lop


ลักษณะ ขอเริ่มจากตัวนี้ก่อนเลยละกันนะคะ Halland Lop เป็น กระต่ายลอปที่ตัวเล็กที่สุดในบรรดาลอปทั้งหมด จะตัวเล็กที่สุด หน้าสวยที่สุด หน้าจะป้านกว่า ลอปพันธุ์อื่นๆ และที่สำคัญ ฮอลแลนด์ลอปนั้น หูจะต้องไม่ยาวมากค่ะ หากวัดจากเส้นขากรรไกรลงมาแล้วไม่ควรยาวเกิน 1 นิ้วค่ะ และขนยาวไม่เกิน 1 นิ้ว อุปนิสัยจะขี้เล่นค่ะ ขนาด 1.4 กิโลกรัม ถึง 1.8 กิโลกรัม


Mini Lop


ส่วนใหญ่ที่ขายกันอยู่ในบ้านเรา จะเป็น Mini lop ค่ะ อันที่จริง mini lop จัดอยู่ในกระต่ายขนาดกลางค่ะ สังเกตง่ายๆ ว่าหูจะไม่สั้นเหมือน Holland Lop และ หน้าจะไม่ป้านเท่า บางตัวหน้าออกแหลมด้วยซ้ำไป และ โตเต็มที่แล้วตัวจะใหญ่กว่า ส่วนใหญ่แล้วตอนเล็กๆ หน้าตาจะดูสั้นค่ะ แต่เลี้ยงไปนานเข้าหน้าจะแหลมขึ้น อย่างเจ้าตัวเล็กในรูปด้านล่าง เมื่อโตขึ้น หน้าจะไม่กลมแล้วค่ะ จะยาวขึ้นทำให้ส่วนที่ดูเหมือนแก้มหายไป ลักษณะที่สวยนั้นหูต้องตกลงข้างแก้มค่ะ ไม่ใช่กางเป็นปีแมงปอ หรือ ตั้งข้างตกข้าง เมื่อโตเต็มที่ น้ำหนักประมาณ 2-3 กิโลกรัม มีคนบอกว่า Mini lop ฉลาดค่ะ




หมายเหตุ

ข้อควรระวังในการเลือกซือ้ lop เพราะว่า ลอป คือกระต่ายหูตก แต่ว่าเนื่องจากลอปให้ลูกไม่เยอะ ทำให้บางคนเอาลอปมาผสมกับกระต่ายหูตั้ง และ บางส่วนได้ลดต้นทุนโดยเอากระต่าย ธรรมดา มาผสมกับ ลอป เพราะว่า ลอปมีราคาแพง หากได้ลูกหูตั้งก็ขายเป็นกระต่ายธรรมดา หูตกก็มาขายเป็น ลอป เป็นต้น การผสมแบบนี้ไม่ดีค่ะ ทำให้รุ่นลูกรุ่นหลานที่ออกมามั่วค่ะ กระต่ายบางตัวออกมาหูตั้งข้างตกข้าง หรือไม่ก็ไม่ยอมตก เป็นต้น และทำให้ผู้เลี้ยงบางคนที่ซื้อกระต่ายหูตก ไปเลี้ยง กลับได้กระต่ายหูตกที่มีลักษณะหูตั้งแฝงอยู่ในตัว พอเค้าเอามาผสมกับลอปด้วยกัน แทนทีจะได้ลูกหูตก กลับอาจจะออกลูกมาหูตั้งก็ได้